วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2561

FTAM

FTAM





     File Transfer, Access and Management (FTAM) ให้บริการเกี่ยวกับการถ่ายโอนไฟล์ระหว่างคอมพิวเตอร์และการอ่าน การเขียน หรือแม้กระทั่งการลบไฟล์ที่อยู่ในอีกเครื่องหนึ่งได้ เป็นการถ่ายโอนข้อมูลจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง
     เอฟแทม (FTAM : File Transfer, Access and Management) ในโอเอสไอ
เป็นชั้นบนสุดของ OSI และหมายถึง Application ทางด้านการสื่อสาร เช่น FTAM (File Transfer, Access and Management) บริการถ่ายโอนไฟล์ รวมถึงอ่าน ลบ เขียนไฟล์ที่อยู่ในอีกเครื่องหนึ่ง, MHS (Message Handing Service) บริการเกี่ยวกับอีเมล์
ตัวอย่างการบริการของลำดับชั้นนี้แสดงความสำเร็จของการสื่อสาร การใส่รหัสเพื่อความปลอดภัยของข้อมูล การกู้ข้อมูลที่เกิดความเสียหาย


FTAM อยู่ระดับชั้นแอพลิเคชั่น ระดับชั้นบนสุดทำหน้าที่กำหนดแอพลิเคชันหรือโปรโตคอลเพื่อบริการผู้ใช้

อ้างอิง :  http://www.cpe.ku.ac.th/

POP3

POP3  

1. โปรแกรมจะทำการดาวน์โหลดอีเมล์ทั้งหมดจาก Email Server เข้ามาในเครื่อง
2. เมื่อทำการดาว์นโหลดเรียบร้อย จะทำการลบอีเมล์ทั้งหมดที่มีอยู่ใน Email Server ออก หรือ จะเก็บ  ไว้ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ที่ลูกค้าได้ตั้งค่าไว้ในโปรแกรม เช่น Outlook, Smart Phone อื่นๆ แล้วจะลบอีเมล์นั้นออกจาก Server ในวันที่ลูกค้าได้กำหนดไว้ 
3.หลังจากที่ download email เเล้วโปรเเกรมจะตัดการเชื่อมต่อกับ mail sever

POP3 ย่อมาจาก Post Office Protocal 3

การ Downlond mail มาเก็บไว้ที่เครื่อง Client หรือ PC ที่เราใช้เป็นการ  Backup mail
อีกทางหนึ่ง โดยสามมารถ backup ผ่าน MS Outlook หรือโปรเเกรม mail client อื่น
ไม่เปลืองพื้นที่การเก็บ email ใน sever กรณีที่เห็นชัดสุด คือระบบ hosting ที่ได้พื้นที่เก็บทุกอย่างตาม plan ที่ซื้อ เนื่องจากสามารถตั้งลบ mail บน mail sever ได้

ข้อเสีย
1.หากใน MS outlook ตั้งให้ลบ email ออกจาก mail sever จะไม่สามารถเข้าไปเช็ค email ที่ mail sever ได้เนื่องจากได้ทำการลบไปแล้ว และหากเครื่องผู้ใช้ที่ดึงเมล์มาเก็บไว้พัง เท่ากับว่าไม่สามารถเอา email กลับมาได้
2.การจักการ email บนเครื่องผู้ใช้เช่น Sent , Delete , FW email จะไม่มีผลกับ Mail sever

SMTP

SMTP 

     Simple Mail Transfer Protocol หรือ SMTP คือ มาตราฐานบน Internet สำหรับการรับส่ง Email นั้นเอง หรือจะเรียกว่า protocol ส่ง mail ก็ว่าได้ ปัจจุบัน mail server และ ระบบส่งเมลล์ทั่วโลก ต่างใช้ SMTP ในการรับและส่งข้อมูลเมลล์กันหมดแล้ว ซึ่งสำหรับฝั่ง client เองแล้ว ตัว program mail จะใช้ SMTP สำหรับขาส่งไปหา mail server เท่านั้น สำหรับขารับ client program จะใช่ IMAP หรือ POP3
     SMTP จะสื่อสารกันระหว่าง mail server ด้วย port 25 ในทางกลับกัน ฝั่ง mail client จะส่ง mail ไปยัง mail server ที่ port 587 แต่บางครั้งก็อาจจะไปใช้ port 456 แทนด้วยเหตุผลบางประการ และสำหรับ SSL connection เราจะเรียก protocol ว่า SMTPS
     ส่วนสำหรับระบบที่เป็น proprietary หรือ เขียนด้วยภาษาเฉพาะเช่น IBM Lotus Notes, Microsoft Exchange รวมถึง webmail เช่น Outlook, Gmail, Yahoo! พวกนี้จะใช้มาตราฐานของภายในบริษัทเองในการเข้าถึงข้อมูลภายในบัญชี mail box ของแต่ละ mail server แต่ทั้งหมดจะยังคงใช้ SMTP ในการรับส่งเมลล์อยู่ดี
การทำงานของ SMTP
     SMTP มีชุดคำสั่งที่ค่อนข้างง่ายสำหรับใช้สือสารหรือส่ง email ระหว่าง mail server ทำงานโดยการให้ server แยกส่วนของข้อมูลออกมาเป็นหมวดหมู่ ที่ server ปลายทางสามารถเข้าใจได้ และเมื่อส่ง mail ออกไป ข้อมูลในรูป string หรือ text จะถูกแยกออกมาเป็นส่วนเพื่อวิเคราะห์หาสิ่งที่ต้องทำในและส่วนนั้นๆ
     SMTP ช่วยในเรื่อง code ในการจำแนกข้อมูล message ใน mail ส่วน mail server ออกแบบมาให้ทำความเข้าใจความหมายของข้อมูลเหล่านั้น ขณะที่ message ถูกส่งผ่านไปยังปลายทาง บางครั้งอาจจะต้องผ่าน computer จำนวนมาก ซึ่งทำงานโดยการ stored and forward ไปยัง computer ลำดับต่อไปในเส้นทางนั้นเรื่อยๆ มองง่ายๆว่าเหมือนจดหมายนั้นถูกส่งต่อผ่านมือแต่ละคนระหว่างทางไปจนถึง mailbox

อ้างอิง : https://saixiii.com/what-is-smtp/

HTTPS



HTTPS คืออะไร

HTTPS (Hypertext Transfer Protocol Secure) คือโปรโตคอลการสื่อสารอินเทอร์เน็ตที่ช่วยรักษาความสมบูรณ์ถูกต้องของข้อมูลผู้ใช้และเก็บข้อมูลไว้เป็นความลับระหว่างคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้กับเว็บไซต์ ผู้ใช้คาดหวังประสบการณ์ออนไลน์ที่มีความปลอดภัยและเป็นส่วนตัวระหว่างที่ใช้เว็บไซต์ เราขอแนะนำให้คุณใช้ HTTPS เพื่อปกป้องการเชื่อมต่อของผู้ใช้กับเว็บไซต์ ไม่ว่าเนื้อหาในเว็บไซต์จะเป็นรูปแบบใดก็ตาม
ข้อมูลที่ส่งด้วย HTTPS จะได้รับการรักษาความปลอดภัยผ่านโปรโตคอล Transport Layer Security (TLS) ซึ่งให้การปกป้องหลัก 3 ชั้นดังนี้
  1. การเข้ารหัส หมายถึง การเข้ารหัสข้อมูลที่แลกเปลี่ยนเพื่อรักษาความปลอดภัยจากผู้ลักลอบดูข้อมูล ซึ่งหมายความว่าขณะที่ผู้ใช้เรียกดูเว็บไซต์ จะไม่มีใครสามารถ "ฟัง" การสนทนาของพวกเขา ติดตามกิจกรรมของพวกเขาไปตลอดหลายหน้า หรือขโมยข้อมูลของพวกเขาได้
  2. ความถูกต้องสมบูรณ์ของข้อมูล หมายถึง จะไม่สามารถแก้ไขหรือทำให้ข้อมูลเสียหายในช่วงที่ถ่ายโอนข้อมูลไม่ว่าจะมีเจตนาหรือไม่ก็ตาม โดยที่ไม่มีการตรวจพบ
  3. การตรวจสอบสิทธิ์ หมายถึง การพิสูจน์ว่าผู้ใช้สื่อสารกับเว็บไซต์ที่เขาต้องการ โดยจะป้องกันการโจมตีจากบุคคลที่อยู่ตรงกลางและทำให้ผู้ใช้เกิดความเชื่อมั่น ซึ่งทำให้เกิดผลประโยชน์อื่นๆ ในทางธุรกิจตามมา




อ้างอิง : https://support.google.com/webmasters/answer/6073543?hl=th






FTP

FTP

                         อ้างอิงรูปภาพ : https://www.ssh.com/s/ftp-client-server-1792x752-elq2a+sr.png

FTP (File Transfer Protocol) คือโพรโทคอลที่ออกแบบมาเพื่อใช้ในการรับส่งไฟล์ระหว่าง Client และ Server โดยจะมีพอร์ตที่ใช้งานอยู่ 2 พอร์ต คือ พอร์ต 20 ใช้ในการรับส่งไฟล์ ส่วนอีกพอร์ตคือ พอร์ต 21 ใช้ในการควบคุมหรือส่งคำสั่ง FTP เช่น ตรวจสอบการเข้าถึงโปรแกรมจากผู้ใช้งาน เป็นต้น และในปัจจุบัน ผู้ให้บริการ Web hosting โดยส่วนใหญ่มักจะให้บริการแลกเปลี่ยนไฟล์ผ่าน FTP Server เพราะการการติดตั้งระบบและการบริหารจัดการไฟล์ทำได้ง่าย
เนื่องจาก FTP เป็นโพรโตคอลที่รับส่งข้อมูลโดยไม่มีการเข้ารหัสลับ จึงทำให้ข้อมูลที่รับส่ง ไม่ว่าจะเป็น Username หรือ Password สามารถถูกดักรับ (Sniff) จากผู้ไม่หวังดีได้  ซึ่งวิธีการแก้ไขนั้น ผู้ดูแลระบบควรเปลี่ยนมาใช้โพรโทคอลสำหรับแลกเปลี่ยนข้อมูลที่มีการเข้ารหัสลับข้อมูลที่รับส่งเสมอ ซึ่งมีโพรโทคอลที่ถูกออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว คือ FTPS 

อ้างอิง : https://www.thaicert.or.th/papers/technical/2012/pa2012te006.html




HTTP


HTTP


       HTTP คือโพรโทคอลในระดับชั้นโปรแกรมประยุกต์เพื่อการแจกจ่ายและการทำงานร่วมกันกับสารสนเทศของสื่อผสม ใช้สำหรับการรับทรัพยากรที่เชื่อมโยงกับภายนอก ซึ่งนำไปสู่การจัดตั้งเวิลด์ไวด์เว็บ  การพัฒนา http เป็นการทำงานร่วมกันของเวิลด์ไวด์เว็บคอนซอร์เทียม (W3C) และคณะทำงานเฉพาะกิจด้านวิศวกรรมอินเทอร์เน็ต (IETF) ซึ่งมีผลงานเด่นในการเผยแพร่เอกสารขอความเห็น (RFC) หลายชุด เอกสารที่สำคัญที่สุดคือ RFC 2616 (เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2542) ได้กำหนดHTTP/1.1 ซึ่งเป็นรุ่นที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน 

Hypertext Transfer Protocol (HTTP) เป็น โปรโตรคอล ที่ใช้งานสำหรับเผยแพร่ข้อมูล และ เป็นสื่อการสำหรับการสือสาร อีกทั้งเป็นจุดกำเนิของ World Wide Web ซึ่งมีโครงสร้างเป็นตัวอักษรและตัวเลข (text) ใช้สำหรับเป็น link เชื่อมระหว่าง ข้อมูล text อื่นๆ และถูกใช้ในการแลกเปลี่ยน ข้อมูลในรูปแบบ multimedia สามารถเเรียกใช้งานผ่าน web browser เช่น Firefox, Google Chrome, Safari,Opera และ  Microsoft Internet Explorer ซึ่งจะไปทำการดึงและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับทาง Server ที่ระบุใน URL ข้อมูลที่ส่งไปจะอยู่ในรูป plain text ไม่มีการเข้ารหัส ทำให้สามารถถูกดักจับและอ่านข้อมูลได้ง่าย จึงไม่ปลอดภัย

อ้างอิง : https://protocolosimodel.blogspot.com/2016/10/http.html







รายชื่อสมาชิกกลุ่ม

รายชื่อสมาชิกกลุ่ม    

1. นางสาว อธิชา จิตตางกูร           60143417
2. นาย ภาณุวัฒน์ สาลี                  60143451
3. นาย พัฒนพล คำเพ็ง                60143448
4. นาย วิชชา อินต๊ะหล่อ               60143455
5. นาย ศาสตราวุธ พรมคำมา        60143457

โปรโตคอลที่ทำงานใน OSI Model Layer

 โปรโตคอลที่ทำงานใน OSI Model Layer 1.Data Link Layer ATM (  automatic teller machine  ) Ethernet FDDI (  Fiber Distributi...